ผลิตภัณฑ์
kimhong-header-product-collapse
น้ำส้มยางหัวเชื้อ 100%

ผลิตจากกรดคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน ใช้ทำยางแผ่นให้มีสีเหลืองสวยใกล้เคียงกรดฟอมิค แต่ประหยัดกว่ามาก เป็นหัวเชื้อทำยางก้อนถ้วย ให้ยางก้อนแน่น ขายได้ราคาดี

more
kimhong-header-product-collapse
กรดฟอร์มิคเข้มข้น 94%

กรดมีคุณภาพสูง เข้มข้นทุกหยด 94% มีใบรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับทำยางแผ่นและยางก้อนถ้วยได้ยางคุณภาพเยี่ยม ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

more
kimhong-header-product-collapse
กรดหัวเชื้อ

กรดสำหรับทำยางก้อนถ้วย สูตรเข้มข้นผสมน้ำ เพิ่มน้ำหนักยางก้อน แข็งตัวเร็วมาก เนื้อยางแน่นเนียนสวย ประหยัดกว่า คุ้มค่ากว่า

more
kimhong-header-product-collapse
กรดน้ำส้มเสือสู้ฝน

ใช้สำหรับทำยางก้อนถ้วย สะดวกพร้อมใช้ ยางแข็งตัวเร็ว น้ำหนักดี เนื้อยางแน่น ไม่มีอันตราย

more
ลักษณะทั่วไปของยางพารา
kimhong-blog_3-blog_authorกิงฮง - March 13, 2013

ยางพารา แต่เดิมเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศทางแถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี ได้นำเข้ามาในประเทศไทยโดยเริ่มปลูกที่จังหวัดตรัง

ลักษณะของต้นยางพารา เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีใบเลี้ยงคู่ รากเป็นระบบรากแก้ว ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านสาขาจะแตกออกมาก เนื้อไม้ของต้นยางจะเป็นไม้เนื้ออ่อนมีสีขาวปนเหลือง

kimhong-blog_3-img_section_1

ใบยางพารา เป็นใบประกอบ มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ ในหนึ่งก้าน แตกออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่าฉัตร

ต้นยางพารามีดอกลักษณะเป็นช่อ ซึ่งทั้งดอกตัวเมียและดอกตัวผู้จะอยู่ในช่อเดียวกัน ผสมพันธุ์แบบเปิด

ผลยางมีลักษณะเป็นพูแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายเมล็ดละหุ่ง

ส่วนสำคัญมากของต้นยางพาราที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ คือ น้ำยาง ซึ่งเป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลือง ขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยาง ซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในส่วนที่เป็นเปลือกของต้นยาง

ในด้านการเพาะปลูก ต้นยางพาราเติบโตได้ดีในบริเวณพื้นที่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 องศาเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นพื้นที่ราบถึงลาดเอียงเล็กน้อย อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 เมตร ลักษณะดินควรเป็นดินร่วน ระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขังมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5 และไม่เป็นดินเค็ม ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,350 มิลลิเมตร/ปี และมีวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วัน/ปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 24-27 องศาเซลเซียส

พันธุ์ส่งเสริม
1. สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงมาก ผลผลิตเฉลี่ย (10 ปีกรีด) 477 กิโลกรัม/ไร่/ปี มีการเจริญเติบโตปานกลางทั้งในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด แตกกิ่งมากทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง การแตกกิ่งไม่สมดุลย์พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกลม ผลัดใบค่อนข้างช้า เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง เหมาะสำหรับระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายปานกลาง ต้านทานโรคเส้นดำและโรคเปลือกแห้งได้ดี ต้านทานโรคราสีชมพูและโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา, ออยเดียม และคอลเลคโทตริกัม ปานกลาง ข้อจำกัดของยางพันธุ์นี้ คือ ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และมีระดับน้ำใต้ดินสูง

2. อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 (RRIM 600) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตเฉลี่ย (13 ปีกรีด) 289 กิโลกรัม/ไร่/ปี มีการเจริญเติบโตปานกลางทั้งในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด แตกกิ่งช้า กิ่งมีขนาดปานกลาง ทรงพุ่มเป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็วเปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนา เหมาะสำหรับระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้เปลือกงอกใหม่จะเสียหายรุนแรง ต้านทานโรคเปลือกแห้งได้ดี แต่ไม่ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคเส้นดำและโรคราสีชมพู จึงไม่ควรปลูกยางพันธุ์นี้ในพื้นที่เขตภาคใต้ฝั่งตะวันตก และบริเวณชายแดนของภาคตะวันออกของประเทศไทย