ผลิตภัณฑ์
kimhong-header-product-collapse
น้ำส้มยางหัวเชื้อ 100%

ผลิตจากกรดคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน ใช้ทำยางแผ่นให้มีสีเหลืองสวยใกล้เคียงกรดฟอมิค แต่ประหยัดกว่ามาก เป็นหัวเชื้อทำยางก้อนถ้วย ให้ยางก้อนแน่น ขายได้ราคาดี

more
kimhong-header-product-collapse
กรดฟอร์มิคเข้มข้น 94%

กรดมีคุณภาพสูง เข้มข้นทุกหยด 94% มีใบรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับทำยางแผ่นและยางก้อนถ้วยได้ยางคุณภาพเยี่ยม ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

more
kimhong-header-product-collapse
กรดหัวเชื้อ

กรดสำหรับทำยางก้อนถ้วย สูตรเข้มข้นผสมน้ำ เพิ่มน้ำหนักยางก้อน แข็งตัวเร็วมาก เนื้อยางแน่นเนียนสวย ประหยัดกว่า คุ้มค่ากว่า

more
kimhong-header-product-collapse
กรดน้ำส้มเสือสู้ฝน

ใช้สำหรับทำยางก้อนถ้วย สะดวกพร้อมใช้ ยางแข็งตัวเร็ว น้ำหนักดี เนื้อยางแน่น ไม่มีอันตราย

more
วิธีกรีดยาง (Rubber tapping)
kimhong-blog_5-blog_authorกิงฮง - March 13, 2013

หลังจากเพาะปลูกและรอคอยจนกระทั่งต้นยางพาราเจริญเติบโตพร้อมจะเก็บเกี่ยวผลผลิต หนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก คือ การกรีดยาง เพื่อเก็บน้ำยาง อันจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง

kimhong-blog_5-img_section_1

การกรีดยางด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ชาวสวนยางได้รับน้ำยางปริมาณมากในแต่ละวัน และที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้ต้นยางที่โดนกรีดไม่บอบช้ำเสียหาย

ต้นยางที่โดนกรีดอย่างผิดวิธีจะเกิดความเสียหาย ไม่สามารถกรีดซ้ำได้ หรือไม่ก็ได้น้ำยางในปริมาณที่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะกว่าจะปลูกยางพาราให้เจริญเติบโตจนกระทั่งพร้อมจะกรีดได้ ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางทุกท่าน จึงควรให้ความสำคัญกับวิธีการกรีดยางให้มาก

เริ่มกรีดต้นยางได้เมื่อไร ?

ช่วงเวลาในการเริ่มต้นกรีดยางที่เหมาะสม จะแตกต่างกันไปตามต้นยางที่นำมาเพาะ ดังนี้

1. ต้นยางที่เพาะจากเมล็ด ลักษณะของต้นยางประเภทนี้ จะมีโคนต้นที่ใหญ่กว่าบริเวณลำต้น ซึ่งบริเวณโคนต้นเปลือกจะหนาและมีปริมาณน้ำยางมาก หากยิ่งกรีดสูงขึ้นไป จะยิ่งได้น้ำยางน้อย

จากการทดสอบพบว่า ถ้ากรีดยางที่เพาะจากเมล็ดที่ระดับความสูงจากโคนต้น 15 เซ็นติเมตร และ 45-60 เซ็นติเมตร ปริมาณน้ำยางที่ได้จากการกรีดที่ความสูง 15 ซม. จะมากกว่าประมาณ ครึ่งเท่า

แต่อย่างไรก็ดีการที่น้ำยางออกมาเกินไป จะส่งผลให้ต้นยางเป็นโรคเปลืองแห้ง หรือ แคระแกรนได้

สำหรับวิธีที่จะทราบได้ว่าต้นยางพาราที่เพาะจากเมล็ดสามารถเริ่มกรีดได้แล้วหรือไม่ ให้วัดความยาวรอบต้นยาง ที่ความสูง 75 เซ็นติเมตร จากพื้นดิน หากวัดรอบต้นได้ 50 ซม. ก็สามารถเริ่มกรีดยางได้แล้ว

2. ต้นยางที่เพาะจากการติดตา ต้นยางประเภทนี้ จะมีลำต้นตั้งแต่โคนไปจนถึงด้านบนเกือบเท่ากัน ความหนาของเปลือกยางที่ระดับความสูงวัดจากพื้นในช่วงระดับ 90 ถึง 125 เซนติเมตรไม่ต่างกันมาก และก็ให้ปริมาณน้ำยางในการกรีดพอ ๆ กัน

ชาวสวนยาง สามารถทราบได้ว่าสามารถเริ่มกรีดยางประเภทนี้ได้แล้ว โดยการวัดความสูงจากรอยติดตาที่อยู่บริเวณโคนต้นยางขึ้นไป 125 เซ็นติเมตร จากนั้นทำการวัดความยาวรอบลำต้นที่ตำแหน่งนั้น ถ้ามีความยาวมากกว่า 50 เซ็นติเมตร ก็สามารถเริ่มกรีดยางได้

kimhong-blog_5-img_section_2

จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า การจะทราบว่าสามารถเริ่มต้นกรีดยางได้เมื่อไร ทำได้โดยวัดขนาดลำต้น ไม่ได้ใช้วิธีนับจำนวนวันในการปลูกแต่อย่างใด ซึ่งการวัดขนาดลำต้นเป็นร้อยเป็นพันต้น วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ให้ตัดท่อนไม้ขนาด 75 ซม. หากยางที่ปลูกเป็นชนิดเพาะด้วยเมล็ด หรือ ตัดท่อนไม้ 125 ซม. หากเป็นต้นยางที่เป็นต้นติดตา จากนั้นผูกลวดหรือเชือกยาว 50 ซม. ไว้ที่ปลายไม้

การวัดขนาดลำต้นยางว่าพร้อมกรีดแล้วหรือไม่ก็เพียงใช้ไม้ดังกล่าวทาบไปที่ต้นยาง แล้วใช้ลวดพันรอบต้น ก็จะรู้ว่ามีขนาดถึง 50 เซ็นติเมตรแล้วหรือไม่

kimhong-blog_5-img_section_3

ต้นยางในสวน ควรมีจำนวนต้นที่พร้อมกรีด 3 ใน 4 ของต้นยางทั้งหมด จึงค่อยเริ่มเปิดกรีด

ควรเริ่มกรีดที่ส่วนไหนของต้นยาง ?

- ต้นยางที่เพาะจากเมล็ด ให้เริ่มกรีดที่ระดับความสูงจากพื้น 75 ซม. โดยกรีดจากด้านซ้ายมือของคนกรีดเอียงลงมาทางด้านขวาด้วยมุม 25 องศา ความยาวในการกรีด คือ ครึ่งต้น

- ต้นยางติดตา ให้เริ่มกรีดที่ระดับความสูงจากรอยติดตาบริเวณโคนต้น 125 เซ็นติเมตร กรีดจากซ้ายมือของผู้กรีดลงมาทางขวา เอียงทำมุม 30 องศา

เพื่อความสะดวกในการเริ่มเปิดกรีดด้วยตำแหน่งที่ถูกต้อง ให้ใช้ไม้เช่นเดียวกับที่ใช้วัดลำต้นดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ตอนปลายให้เปลี่ยนจากลวดเป็นสังกะสีกว้าง 5 เซ็นติเมตร ยาว 45 เซ็นติเมตร ตอกแนบติดเข้ากับทางแบนที่ปลายไม้ข้างหนึ่ง โดยหันชายไปทาง ซ้าย ไม้แบบที่จะใช้กับต้นที่เกิดจากเมล็ดให้เอียงสังกะสี ทำมุมขึ้นไป 25 องศา และสำหรับต้นติดตาให้ทำมุม 30 องศา

เมื่อจะทำแนวหน้ายางในการเปิดกรีด ก็ใช้ไม้วัดดังกล่าว ตั้งทาบเข้ากับส่วนสูงของลำต้น แล้วแนบแผ่นสังกะสีพันวนไปทางด้านซ้ายมือ ใช้มือซ้ายจับปลายสังกะสีไว้ แล้วขีดเส้นตามแนวบนของแผ่นสังกะสี ตั้งแต่จุดครึ่งต้นของลำต้น ไปจนสุดสังกะสีที่ติดอยู่กับไม้ รอยที่เกิดขึ้นนี้ คือ แนวหน้ายางที่จะเปิดกรีดด้วยความยาวครึ่งต้น ซึ่งมีความสูงและความลาดเอียง ตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง

การเปิดกรีดจะทำในทิศทางเดียวกันหมดทุกต้น รวมทั้งการกรีดก็จะเหมือนกันทุกต้นด้วย

kimhong-blog_5-img_section_4
วิธีการกรีดยางที่ถูกต้อง

เป็นหัวใจสำคัญของการกรีดยางเลยทีเดียว การกรีดด้วยวิธีที่ถูกต้องจะทำให้สามารถกรีดซ้ำได้นานไม่น้อยกว่า 30 ปี

ลึกเข้าไปภายใต้เปลือกของต้นยางพารา ประมาณ 6-10 มิลลิเมตร ก่อนถึงเยื่อเจริญ จะมีท่อน้ำยางเรียงอยู่จำนวนมาก ความลึกในการกรีดที่ดี คือ กรีดให้ใกล้เยื่อเจริญ แต่ต้องไม่ชิดติดกับเยื่อเจริญ

หน้าที่ของเยื่อเจริญ คือ เพิ่มเปลือกใหม่ให้งอกมา แทนเปลือกเก่าที่ถูกกรีดทิ้งไป ถ้าเยื่อเจริญไม่ได้รับความเสียหาย เปลือกของต้นยางพาราที่งอกขึ้นใหม่จะเรียบสม่ำเสมอ กรีดซ้ำอีกได้

จะเห็นได้ว่าการกรีดต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก ต้องอาศัยการหัดกรีดเป็นเวลาหลายเดือนเลยทีเดียว กว่าจะเกิดความชำนาญ

นอกจากกรีดไม่ให้ลึกเกินไปแล้ว จะต้องพยายามกรีดให้เปลือกบางที่สุด ครั้งละประมาณ 1.5 มิลลิเมตร เดือนหนึ่งๆ กรีดเปลือกออกไม่ควรเกิน 2.5 เซนติเมตร

kimhong-blog_5-img_section_5

ต้นยางต้นหนึ่งๆ ควรถนอมเปลือกไว้ให้กรีดได้ อย่างน้อย ๓ รอบ โดยใช้เวลากรีดให้ได้กว่า 3๐ ปี ถ้าเปลือกยังดีเมื่อต้นยางอายุกว่า15 – 20 ปีแล้ว ยังมีทางที่จะใช้ยาเร่งน้ำยาง จะช่วยให้ได้น้ำยางเพิ่มมากขึ้น จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับพันธุ์ยางด้วย บางพันธุ์เพิ่มได้อีกเท่าตัว

ช่วงระยะเวลาในการกรีดยางที่เหมาะสม คือ เช้ามืด ซึ่งมองเห็นเปลือกต้นยางแล้ว ผู้กรีดยางควรกรีดด้วยความระมัดระวังไม่รีบร้อนกรีด เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายกับต้นยางได้

ในแต่ละวันคนกรีดยาง 1 คน ควรที่จะทำการกรีดสูงสุด ประมาณ 350 -450 ต้น ไม่ควรเร่งรีบจนเกินกำลังและขาดความปราณีต

ต้นยางพารากรีดได้บ่อยแค่ไหน ?

เมื่อเริ่มต้นกรีดยางพารา ควรกรีดให้น้ำยางออกปริมาณน้อยก่อน โดยทำการกรีดครึ่งรอบต้น 1 วัน เว้น 2 วัน ทำเช่นนี้เป็นระยะเวลา 5-6 เดือน

เมื่อเลยระยะเวลาข้างต้น จึงเปลี่ยนมากรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน และควรให้มีระยะพักอีกบ้าง

ข้อควรใส่ใจ คือ อย่าคิดแต่จะกรีดให้ได้น้ำยางปริมาณมาก ๆ เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าน้ำยางออกมากเกินไป ต้นยางพาราจะเป็นโรคเปลือกแห้งได้ (ไม่มีน้ำยางออก)

ผู้กรีดยางควรหมั่นสังเกตว่า ยางต้นใดที่ปริมาณน้ำยางลดลง หรือไม่มีน้ำยางออกเลย ต้นใดผิดสังเกตให้ หยุดกรีด แต่ถ้าจำนวนต้นยางที่ผิดปกติมีมากถึงประมาณร้อยละ 5 ของต้นยางทั้งสวน ให้เปลี่ยนเป็นกรีดครึ่งรอบต้นทุกวันที่สาม และให้พักต้นยางที่ทรุดโทรมเสียประมาณ ๖ เดือน แล้วจึงทดลองกรีดต่อไปใหม่

วิธีการคำนวนความบ่อยในการกรีดยางที่เหมาะสม สามารถทำได้โดยใช้ระบบกรีดยาง ดังต่อไปนี้

ระบบกรีดยาง คือ การคำนวนวัดค่าความบ่อยในการกรีดยางที่เหมาะสม โดยมีเกณฑ์มาตรฐานในการตั้งต้น คือ “การกรีดยางครึ่งต้นโดยกรีดวันเว้นวัน เป็นการกรีดให้เกิดภาระแก่ต้นยางพอดี 1๐๐%”

จากเกณฑ์ด้านต้น นำมาแทนค่าสัญลักษณ์ได้โดย

- s เป็นสัญลักษณ์ความยาวของการกรีดรอบต้น จากซ้ายเอียงลงมาทางขวา การกรีดยางครึ่งรอบต้น จึงเท่ากับ S/2

- d เป็นสัญลักษณ์ของความบ่อยครั้งของการกรีด การกรีดวันเว้นวัน หรือกรีดทุกๆ 2 วัน จึงเท่ากับ d/2

ดังนั้นเกณฑ์มาตรฐาน “การกรีดยางครึ่งต้นโดยกรีดวันเว้นวัน เป็นการกรีดให้เกิดภาระแก่ต้นยางพอดี 1๐๐%” สามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า

S/2 x d/2 = 100%

จากสมการนี้ให้ถือว่า ตัวอักษรมีค่าเท่ากับ 1 ทุกตัวอักษร ทำให้พลิกแพลงระบบกรีดได้ โดยระวังไม่ให้เกิดภาระแก่ต้นยางเกินกว่า 1๐๐%

ลองมาคำนวนกันว่า ถ้ากรีดรอบต้นทุก 4 วัน จะเกิดภาระแก่ต้นยางเท่าใด

kimhong-blog_5-img_section_6

ผลการคำนวนที่ได้ จะเห็นว่า การกรีดครึ่งรอบต้นโดยกรีดวันเว้นวัน กับการกรีดรอบต้นแต่กรีดทุกๆ 4 วัน ต้นยางจะรับภาระจากการกรีด 1๐๐% เท่ากัน

ประโยชน์จากการคำนวน เจ้าของสวนยางสามารถนำไปใช้ตัดสินใจในการบริหารจัดการแรงงานกรีดยางให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น

สมมุติว่า มีสวนยางอยู่ 4๐๐ ไร่ คนงานหนึ่งคนกรีดได้ประมาณ 1๐ ไร่ (4๐๐-45๐ ต้น) ถ้าใช้ระบบกรีดวันเว้นวัน ต้องใช้คนกรีด 2๐ คน เพื่อกรีดยางให้ได้วันละ 2๐๐ ไร่

แต่หากเจ้าของสวนยางมีปัญหา คือ หาคนงานที่มีความชำนาญในการกรีดได้เพียงแค่ 10 คน จากการคำนวนข้างต้น ก็สามารถเปลี่ยนระบบการกรีด โดย เปลี่ยนจากกรีดครึ่งต้น เป็น กรีดรอบต้น แต่กรีดทุก 4 วัน ฉะนั้น จึงแบ่งสวนออกเป็น 4 ส่วน เพื่อหมุนเวียนกรีดวันละ 1 ส่วน วันหนึ่งๆ จึงมีสวนที่จะกรีดเพียง 1๐๐ ไร่ และใช้คนงานเพียง 1๐ คนเท่านั้น โดยได้ผลผลิตเท่าเดิม

การรองและการเก็บรวบรวมน้ำยาง
kimhong-blog_5-img_section_7

อุปกรณ์ในการรองน้ำยางมี ดังนี้
- รางรองน้ำยาง มีลักษณะเป็นรางเล็กๆ ทำด้วยสังกะสี ใช้สำหรับติดใต้รอยกรีด เพื่อรองน้ำยางให้ไหลลงถ้วย

- ลวดวางถ้วยรองน้ำยาง เพื่อให้วางถ้วยรอง น้ำยางได้สะดวก จะต้องมีลวดทำเป็นห่วง สำหรับวาง ถ้วยให้ติดกับต้นยางด้วย

- ถ้วยรองน้ำยาง ควรเป็นวัตถุถาวร เท่าที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ใช้ถ้วยดินเผาเคลือบภายใน ขนาดจุ 2๐๐-5๐๐ ซีซี

- ถังเก็บน้ำยางและถังรวมน้ำยาง เมื่อกรีดยางแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง น้ำยางจะหยุดไหล จึงใช้ถังหูหิ้วขนาดที่จะหิ้วไปได้ เช่น ขนาดจุ 10-15 ลิตร เมื่อเก็บน้ำยางเต็มแล้ว ก็เอาไปเทรวมไว้ในถังรวม ซึ่งมีหลายรูป หลายแบบ แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่งเป็นสวนๆ ไป

บางสวนทำเป็นถังสังกะสี หรืออะลูมิเนียม ให้เหมาะที่จะวางท้ายรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ได้ และบางรายก็ทำให้ปากแคบ จะได้ไม่กระฉอก ถ้าสวนยาง ขนาดใหญ่ จะใช้รถยนต์บรรทุกมาลำเลียงเอาไป โดยเทรวมลงในถังใหญ่ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายถัง ที่ใช้ในรถยนต์บรรทุกน้ำมัน

kimhong-blog_5-img_section_8

น้ำยางทั้งหมดนี้มีสภาพเป็นน้ำและเสียได้เร็ว จำเป็นต้องรีบส่งไปยังโรงงาน เพื่อทำเป็นยางชนิดต่างๆ ออกจำหน่ายต่อไป

คลิปวีดีโอจากโค­รงการบริหารจัดการศูนย์เครือข่ายถ่ายทอดเท­คโนโลยีด้านยางพาราครบวงจร องค์การสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง วิธีการกรีดยางที่ถูกต้อง ให้รายละเอียดที่ครบถ้วนมาก อาจมีความแตกต่างจากข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องของความสูงในการเริ่มกรีด ตรงที่กำหนดไว้ที่ 150 เซ็นติเมตรวัดจากพื้น ซึ่งมาจากการวิจัยที่ต่างกันของนักวิชาการ