ผลิตภัณฑ์
kimhong-header-product-collapse
น้ำส้มยางหัวเชื้อ 100%

ผลิตจากกรดคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน ใช้ทำยางแผ่นให้มีสีเหลืองสวยใกล้เคียงกรดฟอมิค แต่ประหยัดกว่ามาก เป็นหัวเชื้อทำยางก้อนถ้วย ให้ยางก้อนแน่น ขายได้ราคาดี

more
kimhong-header-product-collapse
กรดฟอร์มิคเข้มข้น 94%

กรดมีคุณภาพสูง เข้มข้นทุกหยด 94% มีใบรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับทำยางแผ่นและยางก้อนถ้วยได้ยางคุณภาพเยี่ยม ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

more
kimhong-header-product-collapse
กรดหัวเชื้อ

กรดสำหรับทำยางก้อนถ้วย สูตรเข้มข้นผสมน้ำ เพิ่มน้ำหนักยางก้อน แข็งตัวเร็วมาก เนื้อยางแน่นเนียนสวย ประหยัดกว่า คุ้มค่ากว่า

more
kimhong-header-product-collapse
กรดน้ำส้มเสือสู้ฝน

ใช้สำหรับทำยางก้อนถ้วย สะดวกพร้อมใช้ ยางแข็งตัวเร็ว น้ำหนักดี เนื้อยางแน่น ไม่มีอันตราย

more
ยางแผ่นรมควัน
kimhong-blog_6-blog_authorกิงฮง - April 11, 2013

ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet) คือ ยางแผ่นดิบที่นำไปรมควันในโรงรมยาง เพื่อให้แผ่นยางพาราแห้งสนิท สาเหตุประการหนึ่งที่ต้องรมควัน เพราะยางแผ่นที่ไม่รมจะส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศไม่ได้ เนื่องจากไม่มีผู้ซื้อยางแผ่นดิบ

kimhong-blog_6-img_section_1
ยางแผ่นรมควัน ถูกตั้งเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพไว้เป็น 7 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. ยาง​แผ่นรมควันชั้น 1 พิ​เศษ (RSS 1X) : ต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากผลผลิตแผ่นยางที่ได้ต้องสะอาด ไม่มีเชื้อรา และตำหนิ เท่านั้น ยังต้องได้รับการตรวจสอบขั้นตอนกระบวนการผลิตด้วย

2. ยาง​แผ่นรมควันชั้น 1 (RSS 1) แผ่นยางไม่มีตำหนิ อาจพบเจอราแห้งบนห่อ หรือผิวก้อน ได้เล็กน้อย

3. ยาง​แผ่นรมควันชั้น 2 (RSS 2) : พบเจอราแห้ง ราสนิม บนห่อ ผิวก้อน ในก้อนยาง ได้เล็กน้อย ​แต่​ไม่​เกินร้อยละ 5 ของตัวอย่างที่ตรวจ อาจจะมีฟองอากาศ​และสิ่งสกปรก​เล็ก ๆ บ้าง

4. ยาง​แผ่นรมควันชั้น 3 (RSS 3) : มากกว่าร้อยละ 80 ของยางแผ่นรมควันที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะอยู่ในเกรดนี้ ดังนั้นราคาอ้างอิงยางพารารมควันที่ใช้กัน จะใช้ประเภท RSS3 เป็นหลัก

ยางแผ่นรมควัน RSS3 จะมีตำหนิบ้าง เช่น ฟองอากาศ และสีด่างดำเล็กน้อย รวมถึงอาจพบรา​แห้ง ราสนิมบนห่อ/ผิวก้อน ​และ​ในก้อน​ได้​ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของตัวอย่างที่ตรวจเจอ

5. ยาง​แผ่นรมควันชั้น 4 (RSS 4) : การขึ้นราเหมือนกับยางแผ่นรมควันชั้น 2 ​และ 3 ​​แต่​ไม่​เกินร้อยละ 20 ของตัวอย่างที่ตรวจ ตำหนิที่มี​ได้ คือ ฟองอากาศ สิ่งสกปรก ​และสีด่างดำปานกลาง แก่รมได้เล็กน้อย

6. ยาง​แผ่นรมควันชั้น 5 (RSS 5) ​: การขึ้นรา​เหมือนชั้น 2 , 3 ​และ 4 ​แต่​ไม่​เกินร้อยละ 30 ของตัวอย่างที่ตรวจ ตำหนิที่มี​ได้ คือ ฟองอากาศ​และสิ่งสกปรก​ใหญ่ขึ้น สีคล้ำมากขึ้น ​แก่รม ​และยาง​เหนียวปานกลาง ยางพอง ​และอ่อนรม​ได้​เล็กน้อย

7. ยางแผ่นรมควันชั้นต่ำ (Burok) : เป็นเศษยางที่ตัดออกจากยางแผ่นรมควันชั้นต่าง ๆ หรือเป็นอย่างแผ่นที่รมควันสุกเกินไป ใช้น้ำกรดในปริมาณที่ไม่เหมาะสม มีควันดำหนาจับ การยืดหยุ่นไม่ได้ ยางเป็นสีดำ ไม่สม่ำเสมอในแต่ละแผ่น

วิธีการทำยางแผ่นรมควัน

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการ ทำยางแผ่นดิบ ทันทีที่ตากยางจนแห้งหรือน้ำหยุดหยดจากแผ่นยางแล้ว ให้นำแผ่นยางเข้าในโรงรมได้เลย ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาในการรมควันประมาณ 4 วัน

แต่หากเป็นการทำแผ่นยางรมควันโดยใช้ยางแผ่นดิบที่ทำทิ้งไว้ ให้นำแผ่นยางที่รวบรวมได้มาล้างทำความสะอาดเสียก่อน จากนั้นจุ่มแผ่นยางลงในสารละลายของสารพาราไนโตรฟินอล (Paranitrophenol) ความเข้มข้น 1% เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในขณะที่รมควันหรืออบแห้ง

นำแผ่นยางไปผึ่งตากในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อยางสะเด็ดน้ำจึงค่อยนำเข้าโรงรม ซึ่งจะใช้เวลาในการรมควัน 4-7 วัน

kimhong-blog_6-img_section_2

โดยปกติจะใช้เวลาในการรมควันให้ยางแห้งประมาณ 4 วัน ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในแต่ละวันจะเป็นดังนี้

● วันที่ 1 ใช้อุณหภูมิ 120 – 125 F (ฟาเรนไฮท์)
● วันที่ 2 ใช้อุณหภูมิ 125 – 135 F
● วันที่ 3 ใช้อุณหภูมิ 135 – 140 F
● วันที่ 4 ใช้อุณหภูมิ 140 – 145 F

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพยางแผ่นรมควัน คือ โรงรมควันยาง ซึ่งโรงรมควันยางที่ดี จะต้องคำนึงถึง

● กระจายความร้อนได้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ
● ระบายอากาศได้ดี
● สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี
● มีระบบป้แงกันไฟไหม้
● มีทางระบายน้ำที่หยดจากแผ่นยางในขณะรมควัน ออกจากโรงรม
● ควันและความชื้นไม่รั่วออกทางเพดาน

ฟืนที่ใช้ในโรงรมควัน ควรจะเป็นฟืนที่ให้ความร้อนได้ดี หากใช้ฟืนที่ไม่แห้งสนิท หรือฟืนของไม้บางชนิดที่่มีควันดำมาก จะทำให้ยางที่รมมีคุณภาพต่ำ แผ่นยางเป็นสีดำ

kimhong-blog_6-img_section_3
ปัญหาที่พบบ่อยในขั้นตอนการรมควันยาง

- เกิดฟองเล็ก ๆ อันเนื่องมาจากอุณหภูมิในการรมควันวันแรกร้อนจัดเกินไป ควรปรับอุณหภูมิเสียใหม่ ให้เริ่มด้วย 120 – 125 F ไม่ว่าในระยะใด

- เกิดฟองอากาศ อันเนื่องมาจากอุณหภูมิในระยะสุดท้ายของการรมร้อนจัดเกินไป ควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินกว่า 145 F ไม่ว่าในระยะใด

- แผ่นยางขึ้นรา เป็นเพราะมีความชื้นในโรงรมมากเกิน จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องอุณหภูมิ และการล้างแผ่นยางพารา โดยก่อนนำยางแผ่นเข้าโรงรม ให้จุ่มน้ำยาพาราไนไตรฟินอลความเข้มข้น 1% เสียก่อน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา

- การมีทางสีดำและเหนียวเหนอะ เป็นเพราะเพดานมีช่องให้ความชื้นและควันรั่วออกไป และทำให้เกิดละอองความชื้่นซึ่งเป็นยางเหนียวเกาะอยู่ตามช่องเพดานดังกล่าว ซึ่งเมื่อความชื้นมากขึ้น ยางเหนี่ยวสีดำนี้ก็จะหยดลงมาที่แผ่นยาง ดังนั้นจึงควรอุดรูรั่วของเพดานในโรงรมควันให้หมด

- การมีทางสีสนิม สาเหตุเพราะอุณหภูมิในวันแรกที่เข้าโรงรมต่ำมากเกินไป ซึ่งวันแรกควรเริ่มต้นการรมควันที่อุณหภูมิ 120 F